การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสารสนเทศรายวิชาสัมมนาปัญหาการเมืองการปกครองของไทย ของนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสารสนเทศรายวิชาสัมมนาปัญหาการเมืองการปกครองของไทย ของนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตแพร่
ผู้วิจัยนายธนนันท์ คุ้มถิ่นแก้ว
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๓
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการเรียนการสอนรายวิชาสัมมนาปัญหาการเมืองการปกครองของไทย ของนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 2) เพื่อประเมินผลการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสารสนเทศรายวิชาสัมมนาปัญหาการเมืองการปกครองของไทย ของนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
จากการวิจัยพบว่า
1. ด้านเนื้อหาและระบบการเรียนการสอน พบว่า นิสิตมีพัฒนาการด้านเนื้อหาและระบบการเรียนการสอนเด็กโดยรวม อยู่ในระดับมาก อภิปรายได้ว่า นิสิตมีพัฒนาการด้านเนื้อหาและระบบการเรียนการสอน ซึ่งมีผลทาให้ การเรียนการสอน โดยพัฒนาการ การใช้สื่อสารสนเทศในการพัฒนาการสอนการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ทาให้มีความน่าสนใจและสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่าที่สุด ได้แก่ ข้อที่ว่า การส่งกิจกรรมผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความเหมาะสม อภิปรายได้ว่า การส่งกิจกรรมหรือส่งการบ้านผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต มีข้อจากัดด้านการส่งสัญญาณ เพราะบางพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต จึงไม่สามารถรับส่งข้อมูลได้
2. ด้านรูปแบบและการนาเสนอ พบว่า นิสิตมีพัฒนาการมีรูปแบบและการนาเสนออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลาดับตามค่าเฉลี่ย โดยพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ใช้สื่อการเรียนการสอนประกอบการบรรยายอภิปรายเนื้อหา ทาให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ข้อที่ว่า การทากิจกรรมเป็นระยะๆ ทาให้สามารถศึกษาเอกสารประกอบการเรียนได้อย่างสม่าเสมอมากขึ้น เนื่องด้วยระยะเวลาการเรียน ในรายวิชาค่อนข้างน้อยเกินไปสาหรับการนาเสนอในรูปแบบระบบการใช้สื่อสารสนเทศ
3. ด้านพัฒนาการเรียนรู้สื่อสารสนเทศ พบว่า นิสิตมีพัฒนาการมีผลต่อ พัฒนาการเรียนรู้สื่อสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลาดับตามค่าเฉลี่ย โดยพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ข้อที่ ๕ กิจกรรมที่ใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทาให้ผู้เรียนสามารถนาความรู้ไปปฏิบัติได้จริง ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงเป็นการจัดการบรรยากาศ จัดกิจกรรม จัดสื่อ จัดสถานการณ์ ฯลฯ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การทากิจกรรมที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาให้ เรียนรู้สื่อสารสนเทศมากขึ้นเพื่อให้เกิดพัฒนาเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเคลื่อนไหวทางสติปัญญา ต้องเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน สามารถกระตุ้นสมองของผู้เรียนให้เกิดการเคลื่อนไหว ต้องเป็นเรื่องที่ไม่ยากหรือง่ายเกินไปทาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกที่จะคิด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *