ชื่อรายงานการวิจัยการขับเคลื่อนระบบธรรมาภิบาลด้วยการสนับสนุนประชาชนให้การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยพรสวรรค์ สุขไมตรี
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๔
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
           งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาระบบธรรมาภิบาลด้วยการสนับสนุนประชาชนให้การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผลการวิจัยพบว่า
          การมีส่วนร่วมของชุมชน แบ่งได้ออกเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ ๑. ลักษณะการมีส่วนร่วมจากความเกี่ยวข้องทางด้านเหตุผล โดยการเปิดโอกาสให้สังคม องค์กรต่าง ๆ ในชุมชน ประชาชนมีบทบาทหลักตามสิทธิ หน้าที่ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตั้งแต่การคิดริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ วางแผน 
การร่วมปฏิบัติและการรับผิดชอบในผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งส่งเสริม ชักนำสนับสนุนให้การดำเนินงานเกิดผลประโยชน์ต่อชุมชนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดด้วยความสมัครใจ ๒. ลักษณะการมีส่วนร่วมจากความเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจ  เป็นการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่การเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจ อารมณ์ รวมทั้ง ค่านิยมของประชาชนเป็นเครื่องชี้นำตนเองให้เข้ามามีส่วนร่วม แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทำให้ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม เกิดความผูกพัน มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อกิจกรรมที่ดำเนินงานด้วยความสมัครใจ
          ดังนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดขึ้นจากเป้าหมายที่ต้องการ ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี ความผูกพัน การเสริมแรง โอกาส ความสามารถ การสนับสนุน ความคาดหมายในสิ่งที่ต้องการ 
โดยมีพื้นฐานของการมีส่วนร่วม ได้แก่ (๑) การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของเหตุผล (๒) การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของค่านิยม (๓) การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของประเพณี (๔) การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของความผูกพันความเสน่หา ปัจจัยที่สำคัญ คือ ประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ รู้ถึงสิทธิ และหน้าที่ของตนในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง โดยการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ พร้อมทั้งรัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองตามกระบวนการ ช่องทางที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นรูปธรรม หากเป็นดังที่กล่าวมาแล้ว การมีส่วนร่วมทางการเมืองจะเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญมากที่สุดของการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนได้









ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *