วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฐานข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เพื่อศึกษาระบบการจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบ
มีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และเพื่อพัฒนาฐานระบบการจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยผสมผสานวิธี โดยมีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) และเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 13 รูป หรือ คน
ผลการวิจัยพบว่า ฐานข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของ
ตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ประกอบไปด้วย ประวัติความเป็นมา ข้อมูลทางด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับพื้นที่ ข้อมูลด้านวัฒนธรรมประเพณีซึ่งเกิดขึ้นในรอบ 12 เดือน ข้อมูลด้านการบริหาร ข้อมูลด้านอาชีพตำบลกาญจนาประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลกาญจนาประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตที่สำคัญ
ของตำบลได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง ผลไม้ เป็นต้นส่วนระบบการจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ จำนวน 13 รูป หรือ คน โดยการพัฒนาฐานข้อมูลและความรู้ 7 ขั้นตอน 1.การแสวงหาความรู้ 2.การรวบรวมความรู้ 3.การจัดหมวดหมู่ความรู้ 4.การแลกเปลี่ยนความรู้ 5.การแชร์ความรู้ หรือแบ่งปันความรู้ 6.การถ่ายทอดความรู้ 7.การจัดเก็บความรู้และการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ตามการรวบรวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลในการศึกษา ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์โดยฐานข้อมูลที่เป็นทางการ และการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์โดยสารข้อมูลที่ไม่เป็นทางการเช่น
การสนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ตามวาระโอกาสในรอบ 12 เดือน มีการร่วมมือกันโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ในยามวิกาล ตลอดถึงการไก่ลเกลี่ยประนีประนอมข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชนให้เกิดการยอมรับและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และองค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนา
มีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างสูง ด้วยการอาศัยฐานข้อมูลความรู้ของชุมชนที่เกิดขึ้นในปีก่อนหน้า หรือที่ผ่านมา นำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตำบลกาญจนา โดยผ่านกระบวนการการประชาคมหมู่บ้านในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนตำบลกาญจนารวมทั้ง 9 หมู่บ้าน