ชื่อรายงานการวิจัย : | แนวคิดและหลักปฏิบัติการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนว พระพุทธศาสนา |
ผู้วิจัย : | ดร.สายัณห์ อินนันใจ |
ส่วนงาน : | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ |
ปีงบประมาณ : | ๒๕๕๗ |
ทุนอุดหนุนการวิจัย : | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เกี่ยวกับแนวคิดและหลักปฏิบัติการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ เพื่อศึกษาแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสนา, เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา และเพื่อวิเคราะห์ผลการศึกษาแนวคิดและหลักปฏิบัติการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การรวบรวมข้อมูล เอกสารที่เป็นแหล่งการศึกษาประกอบด้วยประเภทสิ่งตีพิมพ์ คัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เอกสาร ตาราวิชาการทางด้านพุทธศาสนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สรุปแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสนา ประกอบด้วยแนวคิดการเรียนรู้ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สิกขา คือการศึกษา แนวคิดและวิธีการเรียนรู้ในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่พุทธศาสนิกชนทุกคน ต้องเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจในหลักธรรมก่อน แล้วจึงน้อมนาไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์และมีความสุขทั้งแก่ตนเองครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ซึ่งแนวคิดและวิธีการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาในที่นี้ได้กาหนดไว้รวม ๔ หลักธรรม คือ ไตรสิกขา อริยสัจ ๔ สติสัมปชัญญะ และโยนิโสมนสิการ
๒. สรุปหลักปฏิบัติองค์กรแห่งการเรียนรู้แนวทางตามพุทธศาสนา ได้แก่ วิธีการปฏิบัติการในการดาเนินชีวิตอยู่ร่วมกันของพระภิกษุสงฆ์ ตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่เป็นหลักการเรียกว่า พระธรรมวินัย โดยมีจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งองค์กรคณะสงฆ์เป็นจุดมุ่งหมายจาเพาะ หลักการปฏิบัติตามวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ หลักการพัฒนา ๓ ระดับ ประโยชน์ปัจจุบันกับประโยชน์ภายหน้า นอกจากนั้นยังมีวิธีการจัดการความรู้โดยบูรณการกับสมัยใหม่
๓. การวิเคราะห์ผลการศึกษาแนวคิดและหลักปฏิบัติองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสนา เพื่อให้เข้าใจและเกิดการนาไปสู่การปฏิบัติโดยการบูรณาการนาเสนอตามเครื่องมือของการจัดการความรู้มีแนวทาง ๕ ประการ ประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้ (๑) การเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร ตรงกับแนวคิดกับหลักธรรมไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา หลักปฏิบัติตรงกับระเบียบกฎเกณฑ์ที่เป็นหลักการเหล่านั้นเรียกว่า พระธรรมวินัย (๒) ความมีสติ หรือแบบแผนทางจิตสานึกของคนในองค์การ แนวคิดตรงกับหลักธรรมสติกับสัมปชัญญะ เป็นธรรมมีอุปการะมากเกื้อหนุนกันและกัน หลักการปฏิบัติตามวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้มี ๑๐ วิธี (๓) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์การ ผลการศึกษาแนวคิดตรงกับหลักธรรมอริยสัจ ๔ หลักปฏิบัติ ตามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธมี ๓ ประการ (๔) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ผลการศึกษาแนวคิดตรงกับหลักธรรมทิฏธัมมิกัตถะและสัมปรายิกัตถะ หลักปฏิบัติตรงตามหลักปฏิบัติจุดหมายของชีวิตแบ่งออกเป็น ๒ ระดับของพระพุทธศาสนา (๕) ระบบการคิดของคนในองค์การ หรือกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาแนวคิดตรงกับหลักโยนิโสมนสิการ หลักปฏิบัติเพื่อสร้างความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ตรงกับหลักปฏิบัติองค์กรแห่งการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย ๑. การสร้างวิสัยทัศน์ความรู้ คือ การรวบรวมพระธรรมพระวินัยด้วยการร้อยกรอง เรียกว่า การทาสังคายนา ๒. กระบวนการทาสังคายนาในแต่ละครั้ง ๓. สร้างกลุ่มคนทางานด้านการจัดการความรู้ ๔. นาองค์ความรู้ไปใช้และทดลอง ๕. การประเมินผลการปฏิบัติ ๖. ก้าวสู่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะ