Category Archives: 2563

วิเคราะห์ปัญหาลักษณะตั๋วเงินที่นำมาใช้กับบัตรเงินฝาก

ชื่อรายงานการวิจัยวิเคราะห์ปัญหาลักษณะตั๋วเงินที่นำมาใช้กับบัตรเงินฝาก
ผู้วิจัยนายอุเทน สุขทั่วญาติ
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๓
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
           การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับลักษณะตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นำมาใช้กับบัตรเงินฝาก ๒) เพื่อวิเคราะห์ถึงมาตรการทางกฎหมายของลักษณะตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นำมาใช้กับบัตรเงินฝาก
ผลการวิจัยพบว่า
           ๑. ปัญหาบัตรเงินฝากเป็นตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ ซึ่งตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น มีทั้งหมด ๓ ชนิด ได้แก่ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค หากบัตรเงินฝากเป็นตั๋วเงินแล้วจะถูกจัดอยู่ในตั๋วเงินชนิดใด หากบัตรเงินฝากเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว บัตรเงินฝากย่อมอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อีกทั้งยังมีความเกี่ยวพันไปถึงเรื่องมูลหนี้เดิมตามบัตรเงินฝากอีกด้วย แม้บัตรเงินฝากจะมีความคล้ายกับตั๋วสัญญาใช้เงินแต่บัตรเงินฝากก็ไม่สามารถเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินได้ หากขาดรายการใดไป และหากรายการดังกล่าวไม่ได้รับการยกเว้นแล้วตราสารดังกล่าวไม่อาจสมบูรณ์เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินได้ เมื่อบัตรเงินฝาก ไม่มีรายการ “คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน” ซึ่งเป็นรายการสำคัญที่ไม่ได้บัญญัติยกเว้นไว้ แต่บัตรเงินฝากกลับมีรายการ “คำบอกชื่อว่าเป็นบัตรเงินฝาก”แทน จึงสรุปได้ว่า บัตรเงินฝากไม่สามารถเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ 
          ๒. ปัญหาบัตรเงินฝากมีลักษณะเป็นหนังสือตราสารหรือไม่ แม้จะมีการกำหนดนิยามของบัตรเงินฝากเอาไว้ แต่เมื่อเปรียบเทียบตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ทั้งตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค ต่างก็บัญญัติให้ตราสารนั้น ๆ เป็น หนังสือตราสาร
         ๓. ปัญหามูลหนี้เดิมตามบัตรเงินฝากระงับสิ้นไปเมื่อใด บัตรเงินฝากมีมูลหนี้เดิมหรือไม่ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับกฎหมายในประเทศกลุ่มแองโกลอเมริกา และ ประเทศกลุ่มภาคพื้นยุโรปการออกหรือโอนตราสารเปลี่ยนมือนั้น มีมูลหนี้สองมูลหนี้เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ นั้นคือ มูลหนี้เดิม และ มูลหนี้ตามตราสารเปลี่ยนมือ 
ซึ่งการชำระหนี้ด้วยตราสารเปลี่ยนมือเป็นการชำระหนี้ที่มีเงื่อนไขว่า เจ้าหนี้จะต้องรอจนกว่าตราสารนั้นจะถึงกำหนด เมื่อเปรียบเทียบกับตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว การออกหรือโอนตั๋วเงินจะต้องมีมูลหนี้เดิมเสมอ และมูลหนี้ดังกล่าวจะเกิดจากนิติเหตุใด ๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้สัญญา หรือมูลหนี้ละเมิด ทั้งนี้ มูลหนี้เดิมตามตั๋วเงินจะระงับก็ต่อเมื่อมีการชำระหนี้ตามตั๋วเงินแล้วเท่านั้น
          เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับบัตรเงินฝากในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกาแล้วพบว่า บัตรเงินฝากในประเทศทั้งสามเป็นตราสารเปลี่ยนมือซึ่งการออกและโอนบัตรขเงินฝากเป็นการแปลงหนี้ใหม่ซึ่งทำให้มูลหนี้เดิมระงับ เหมือนกับบัตรเงินฝากในประเทศไทย ดังนั้น ในเรื่องความระงับแห่งมูลหนี้ตามบัตรเงินฝากนี้จึงเป็นช่องว่างทางกฎหมายที่ควรแก้ไขต่อไป 
          จากการวิจัยพบว่า เมื่อบัตรเงินฝากเป็นสัญญาทางแพ่ง และเป็นตราสารเปลี่ยนมือชนิดหนึ่งซึ่งมีสาระสำคัญไม่ต่างจากตั๋วเงิน เพียงแต่วัตถุประสงค์ในการใช้แตกต่างกันเท่านั้น แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติ ไว้ในเรื่องความระงับแห่งมูลหนี้เมื่อมีการออกหรือโอนบัตรเงินฝากไว้โดยตรงก็ตาม แต่ก็ควรจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๒๑ วรรคสาม มาใช้บังคับกับบัตรเงินฝากได้ในฐานะที่เป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔ เพื่อทำให้บัตรเงินฝากเป็นตราสารเปลี่ยนมือโดยสมบูรณ์






รูปแบบการสร้างเสริมการเป็นพลเมืองดีของนักเรียนเชิงพุทธบูรณาการ

ชื่อรายงานการวิจัยรูปแบบการสร้างเสริมการเป็นพลเมืองดีของนักเรียนเชิงพุทธบูรณาการ
ผู้วิจัยพระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ,ดร.
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๓
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
           การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับรูปแบบและการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีเชิงพุทธบูรณาการ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
          ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทการเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.48 σ = 0.01) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.49 σ = 0.06) รองลงมา คือ ด้านเคารพผู้อื่น อยู่ในระดับปานกลาง(µ= 3.47, σ =0.01)
          รูปแบบการสร้างเสริมการเป็นพลเมืองดีของนักเรียนเชิงพุทธบูรณาการ มีเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมบทบาทหน้าที่การเป็นพลเมืองดีของนักเรียนทั้ง ๒ ด้าน 
คือ ด้านความรับผิดชอบต่อตนเองสังคม และด้านการเคารพผู้อื่น คณะผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบจากกรอบของการศึกษาเอกสาร ตำราทางวิชาการ เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่การเป็นพลเมืองดีบูรณาการกับแนวคิดตามแนวพระพุทธศาสนา และการที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้วยการสอบถาม และการสัมภาษณ์ จนได้รูปแบบการสร้างเสริมการเป็นพลเมืองดีของนักเรียนเชิงพุทธบูรณาการ ที่เป็นรูปแบบกิจกรรมอบรมภายใต้กรอบแนวคิดตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
          ผลการใช้รูปแบบการสร้างเสริมการเป็นพลเมืองดีของนักเชิงพุทธบูรณาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.48 σ = 0.01) หลังการใช้รูปแบบการสร้างเสริมการเป็นพลเมืองดีของนักเรียนเชิงพุทธบูรณาการ พบว่า นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก (µ= 4.22, σ= 0.01) แสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและการรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้น





การศึกษาความรูhความเข้าใจและแนวทางการพัฒนาของผู้นำชุมชนในเรื่องกฎหมายมรดก :กรณีศึกษาในตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการศึกษาความรู้ความเข้าใจและแนวทางการพัฒนาของผู้นำชุมชนในเรื่องกฎหมายมรดก : กรณีศึกษาในตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยนางสาวสุพิชญา กันกา
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๓
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
            การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาความรู้ความเข้าใจและแนวทางการพัฒนาของผู้นำชุมชนในเรื่องกฎหมายมรดก : กรณีศึกษาในตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่” มีวัตถุประสงค์ใน การศึกษาวิจัยคือ 

            ๑) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในกฎหมายมรดกของผู้นำชุมชน และ ๒) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาผู้นำชุมชนในเรื่องกฎหมายมรดก ทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คณะผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และลงพื้นที่ภาคสนาม (FieldStudy) ในตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depthinterview) กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน และสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussions) จำนวน 10 คน

          ผลการวิจัยพบว่า มรดกในความเข้าใจของผู้นำชุมชนในเรื่องกฎหมายมรดกนั้น ส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่ามรดก หมายถึง สิ่งที่ทายาทได้รับตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินทุกชนิด เช่น ที่ดิน บ้าน รถยนต์ เครื่องประดับ อัญมณี ทรัพย์สินเงินทอง เงินในธนาคาร ที่มีมาก่อนที่เจ้าของจะถึงแก่ความตาย รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ เช่น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน รวมถึงหนี้สิน โดยจะเป็นมรดกตกทอดสู่ทายาทก็ต่อเมื่อเจ้าของถึงแก่ความตาย ซึ่งทายาท มี ๒ ประเภท คือ ทายาทโดยธรรม หมายถึง บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หลาน เหลน บิดา มารดา พี่ น้อง สามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ทายาทโดยพินัยกรรม คือ ผู้ที่ถูกระบุไว้ในพินัยกรรมตามคำสั่งเสียของเจ้ามรดกนั่นเอง ซึ่งผู้นำชุมชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายมรดกในขั้นพื้นฐานแต่ยังไม่ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญอื่น ๆ 

          สำหรับแนวทางในการพัฒนาผู้นำชุมชนในเรื่องความรู้ความเข้าใจในกฎหมายมรดกนั้นพบว่า มีแนวทางที่สำคัญ ๔ ประการ คือ ๑) การบริการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ผู้นำชุมชน คือการจัดโครงการเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายมรดกให้แก่ผู้นำชุมชน ๒) จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านกฎหมายให้กับผู้นำชุมชน โดยการจัดตั้งคลินิกกฎหมาย หรือคลินิกยุติธรรม หรือศูนย์ให้คำแนะนำด้านกฎหมายเคลื่อนที่ให้กับผู้นำชุมชน ๓) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องกฎหมายมรดกสามารถทำผ่านสื่อต่าง ๆ ของชุมชน เสียงตามสายในหมู่บ้าน หนังสือพิมพ์ในท้องถิ่น สื่อออนไลน์ต่าง ๆ ๔) จัดตั้งศูนย์ประสานงานของผู้นำชุมชนในพื้นที่ ทำหน้าที่ประสานหน่วยงานยุติธรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ ในกรณีมีปัญหาหรือข้อพิพาททางกฎหมาย



แผนงานวิจัย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง:การป้องกันเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือ

ชื่อรายงานการวิจัยแผนงานวิจัย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง:การป้องกันเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือ
ผู้วิจัยพระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ,ดร.
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๓
ทุนอุดหนุนการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ

	

การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมนิสิตรายวิชาหลักการแปลและการตีความของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสารสนเทศรายวิชาสัมมนาปัญหาการเมืองการปกครองของไทย ของนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสารสนเทศรายวิชาสัมมนาปัญหาการเมืองการปกครองของไทย ของนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตแพร่
ผู้วิจัยนายธนนันท์ คุ้มถิ่นแก้ว
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๓
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการเรียนการสอนรายวิชาสัมมนาปัญหาการเมืองการปกครองของไทย ของนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 2) เพื่อประเมินผลการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสารสนเทศรายวิชาสัมมนาปัญหาการเมืองการปกครองของไทย ของนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
จากการวิจัยพบว่า
1. ด้านเนื้อหาและระบบการเรียนการสอน พบว่า นิสิตมีพัฒนาการด้านเนื้อหาและระบบการเรียนการสอนเด็กโดยรวม อยู่ในระดับมาก อภิปรายได้ว่า นิสิตมีพัฒนาการด้านเนื้อหาและระบบการเรียนการสอน ซึ่งมีผลทาให้ การเรียนการสอน โดยพัฒนาการ การใช้สื่อสารสนเทศในการพัฒนาการสอนการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ทาให้มีความน่าสนใจและสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่าที่สุด ได้แก่ ข้อที่ว่า การส่งกิจกรรมผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความเหมาะสม อภิปรายได้ว่า การส่งกิจกรรมหรือส่งการบ้านผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต มีข้อจากัดด้านการส่งสัญญาณ เพราะบางพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต จึงไม่สามารถรับส่งข้อมูลได้
2. ด้านรูปแบบและการนาเสนอ พบว่า นิสิตมีพัฒนาการมีรูปแบบและการนาเสนออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลาดับตามค่าเฉลี่ย โดยพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ใช้สื่อการเรียนการสอนประกอบการบรรยายอภิปรายเนื้อหา ทาให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ข้อที่ว่า การทากิจกรรมเป็นระยะๆ ทาให้สามารถศึกษาเอกสารประกอบการเรียนได้อย่างสม่าเสมอมากขึ้น เนื่องด้วยระยะเวลาการเรียน ในรายวิชาค่อนข้างน้อยเกินไปสาหรับการนาเสนอในรูปแบบระบบการใช้สื่อสารสนเทศ
3. ด้านพัฒนาการเรียนรู้สื่อสารสนเทศ พบว่า นิสิตมีพัฒนาการมีผลต่อ พัฒนาการเรียนรู้สื่อสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลาดับตามค่าเฉลี่ย โดยพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ข้อที่ ๕ กิจกรรมที่ใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทาให้ผู้เรียนสามารถนาความรู้ไปปฏิบัติได้จริง ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงเป็นการจัดการบรรยากาศ จัดกิจกรรม จัดสื่อ จัดสถานการณ์ ฯลฯ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การทากิจกรรมที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาให้ เรียนรู้สื่อสารสนเทศมากขึ้นเพื่อให้เกิดพัฒนาเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเคลื่อนไหวทางสติปัญญา ต้องเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน สามารถกระตุ้นสมองของผู้เรียนให้เกิดการเคลื่อนไหว ต้องเป็นเรื่องที่ไม่ยากหรือง่ายเกินไปทาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกที่จะคิด