Category Archives: 2564

รูปแบบการจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยรูปแบบการจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยพระวุฒิชัย ขนฺติพโล (แย้มรับบุญ)
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๔
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          การศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ ๒) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (QualitativeResearch) คณะผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร 
ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) พระสงฆ์ ผู้บริหาร คุณครู และนักเรียนผู้สูงอายุ จำนวน ๑๐รูป/คน สรุปผลการศึกษาวิจัย ดังนี้
          การจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มี ๔ ด้านที่สำคัญ ประกอบไปด้วย ๑. หลักการจัดการเรียนการสอน คือ แบบเน้นตัวผู้เรียน, แบบเน้นความรู้ความสามารถ, แบบเน้นประสบการณ์, แบบเน้นทักษะกระบวนการและแบบเน้นการบูรณาการ 
๒. ทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน คือ จัดการเรียนการสอนแบบกลุ่ม,จัดการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ, 
การเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ ๓. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคือ การจัดกิจกรรม, การฝึกทักษะ, 
การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง, และการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน ๔. อาจารย์ผู้สอน คือ การใช้สื่อและภาษา, การใช้เทคนิคการตั้งคำถาม, การใช้เทคโนโลยีช่วยสอน และ ความหลากหลายในการใช้สื่อ ๕. การประเมินการจัดการเรียนการสอน คือ ประเมินจากความสนใจ, พฤติกรรม, การค้นคว้างาน และการทำแบบทดสอบ
          รูปแบบการจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยการนำหลักภาวนา ๔ ประยุกต์ ประกอบไปด้วย การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีบทบาทหรือส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทางกาย เรียกว่า 
กายภาวนา การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจสามารถนำตนเองสู่การขเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เสริมสร้างความรู้ความคิดความเข้าใจ รู้จริง เรียกว่า จิตตภาวนา กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างนักเรียน การทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อพัฒนาทางสังคม เรียกว่าศีลภาวนา การพัฒนาปัญญาเพื่อให้เกิดขึ้นกับตนเองได้หลายทาง ทั้งจากการคิด การเขียน การถาม การอ่าน การฟัง การดู และการลงมือปฏิบัติ โดยสามารถพัฒนาปัญญาความรู้ให้เกิดขึ้นกับตนเอง จากรายวิชาที่ต้องลงมือปฏิบัติ มีการบูรณาการจัดการเรียนการสอนตามบริบทของชุมชน เรียกว่า ปัญญาภาวนา



         









การส่งเสริมพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน : กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการส่งเสริมพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน : กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยกิตติศักดิ์ วิมล
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๔
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการส่งเสริมพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองและกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๒)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง และกระบวนการส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ ๓)เพื่อศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ
การพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองและกระบวนการส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน ตำบลป่าแมต 
อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยจากข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า การส่งเสริมพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรม โครงการส่งเสริมพัฒนาของประชาชนร่วมกับ อบต. องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ระดับอำเภอ รวมทั้งทุนทางสังคม วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีความเชื่อ ความศรัทธา สำหรับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนเกี่ยวข้องกับ กระบวนการส่งเสริมพัฒนาของชุมชน ร่วมกับ อบต. การสนับสนุนจากองค์กรภายนอกชุมชน (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และสำนักงานพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 -2553) นอกจากนี้ พบว่า บทบาทของผู้นำชุมชน เช่น นายก อบต. สมาชิกสภา อบต. ผู้ใหญ่บ้านพระสงฆ์ ครูอาจารย์ที่เป็นแกนนำชุมชน 
มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองและประชาธิปไตยชุมชนก
ผลการวิจัยพบว่า
         จากข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลป่าแมต มากกว่าร้อยละ 56.8
 มีความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองของตำบลในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นแบบแผนเดียวกันในทุกกลุ่มช่วงอายุ อย่างไรก็ตามผู้ให้ข้อมูลอายุระหว่าง 18-29 ปี มีความเห็นเกี่ยวกับการ ส่งเสริมพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองของตำบลในระดับสูง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.1 รองลงมาคือ กลุ่มอายุระหว่าง 40- 49 ปี คิดเป็นร้อยละ 16.7 และเป็นที่น่าสังเกตว่า มีจำนวนร้อยละใกล้เคียงกับ ความเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองของตำบลในระดับค่าคิดเป็นร้อยละ 15.4 สำหรับ กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนของตำบล พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ในตำบลป่าแมต ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนของตำบลในระดับปานกลาง โดยเฉพาะใน กลุ่มอายุระหว่าง 51-59 ปี มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 76.0 และผู้ให้ข้อมูลอายุ 60 ปีขึ้นไป รองลงมา คิดเป็นร้อยละ 69.8 ส่วนอายุระหว่าง 30-39 ปี และอายุระหว่าง 18-29 ปี มีความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนของตำบลในระดับสูง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 25.9 และ 25.7 ตามลำดับ และเป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ให้ข้อมูลอายุระหว่าง 30-39 ปี และกลุ่มอายุระหว่าง 40-49 ปี มีความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนของตำบลในระดับต่ำ มากที่สุด คือ ร้อยละ 12.3 และ 11.5 ตามลำดับ
          อย่างไรก็ตาม ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองและกระบวนการพัฒนา ประชาธิปไตยชุมชน พบว่า ต้องสร้างความต่อเนื่องในการส่งเสริมพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง เช่น การสร้างผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ การส่งเสริมพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองภาคพลเมืองประชาธิปไตยชุมชน และบทบาทของสภาองค์กรชุมชนตำบลร่วมกับประชาชนในตำบล โดยอาศัยการดำเนินกิจกรรม การเมืองภาคพลเมือง และกระบวนการส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนแบบประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง 
รวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นระยะ ๆจากองค์กรภายนอกชุมชน เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองและองค์กรภาครัฐในพื้นที่ นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่สนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจการปกครอง ท้องถิ่นเพื่อการจัดการตนเองมากขึ้น


         









การมีส่วนร่วมของนิสิตต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้สัมมาชีพแก่เยาวชนและผู้สูงอายุ บ้านวังปึ้ง จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการมีส่วนร่วมของนิสิตต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้สัมมาชีพแก่เยาวชนและผู้สูงอายุ บ้านวังปึ้ง จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยผศ.ดร.อรอนงค์ วูวงศ์
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๔
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการถ่ายทอดองค์ความรู้สัมมาชีพแก่เยาวชนและผู้สูงอายุ บ้านวังปึ้ง จังหวัดแพร่และศึกษาความพึงพอใจการเข้าร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้สัมมาชีพของเยาวชนและผู้สูงอายุ บ้านวังปึ้ง ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ก าหนดพื้นที่กรณีศึกษา ได้แก่ บ้านวังปึ้ง กลุ่มตัวอย่าง เป็นเยาวชน ๒๕ คน และ ผู้สูงอายุ ๒๕ คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถามแบบ และการสังเกต จากผู้เข้าร่วมกิจกรรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า
          กระบวนการการถ่ายทอดองค์ความรู้สัมมาชีพแก่เยาวชนและผู้สูงอายุ บ้านวังปึ้ง จังหวัดแพร่ ประกอบด้วย ๑. ศึกษาความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้สัมมาชีพของชาวบ้านในชุมชนบ้านวังปึ้ง ๒. จัดเตรียมสถานที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ๓. จัดเตรียมอุปกรณ์ใน การจัดกิจกรรม 
๔. การถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเหรียญโปรยทาน
          ผลประเมินการมีส่วนร่วมของนิสิตต่อถ่ายทอดองค์ความรู้สัมมาชีพของเยาวชนและผู้สูงอายุ บ้านวังปึ้ง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมพบว่า มีส่วนร่วมคิดเป็นร้อยละ ๗๒.๘๓ หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๗๓ รองลงมา 
ด้านที่มีส่วนร่วมสูงสุด คือด้านการมีส่วนร่วมรับประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ ๘๐ หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๘๐ และ
ด้านกระบวนการ คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๕๐ หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๖๗

         









การขับเคลื่อนระบบธรรมาภิบาลด้วยการสนับสนุนประชาชนให้การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการขับเคลื่อนระบบธรรมาภิบาลด้วยการสนับสนุนประชาชนให้การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยพรสวรรค์ สุขไมตรี
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๔
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
           งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาระบบธรรมาภิบาลด้วยการสนับสนุนประชาชนให้การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผลการวิจัยพบว่า
          การมีส่วนร่วมของชุมชน แบ่งได้ออกเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ ๑. ลักษณะการมีส่วนร่วมจากความเกี่ยวข้องทางด้านเหตุผล โดยการเปิดโอกาสให้สังคม องค์กรต่าง ๆ ในชุมชน ประชาชนมีบทบาทหลักตามสิทธิ หน้าที่ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตั้งแต่การคิดริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ วางแผน 
การร่วมปฏิบัติและการรับผิดชอบในผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งส่งเสริม ชักนำสนับสนุนให้การดำเนินงานเกิดผลประโยชน์ต่อชุมชนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดด้วยความสมัครใจ ๒. ลักษณะการมีส่วนร่วมจากความเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจ  เป็นการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่การเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจ อารมณ์ รวมทั้ง ค่านิยมของประชาชนเป็นเครื่องชี้นำตนเองให้เข้ามามีส่วนร่วม แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทำให้ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม เกิดความผูกพัน มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อกิจกรรมที่ดำเนินงานด้วยความสมัครใจ
          ดังนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดขึ้นจากเป้าหมายที่ต้องการ ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี ความผูกพัน การเสริมแรง โอกาส ความสามารถ การสนับสนุน ความคาดหมายในสิ่งที่ต้องการ 
โดยมีพื้นฐานของการมีส่วนร่วม ได้แก่ (๑) การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของเหตุผล (๒) การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของค่านิยม (๓) การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของประเพณี (๔) การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของความผูกพันความเสน่หา ปัจจัยที่สำคัญ คือ ประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ รู้ถึงสิทธิ และหน้าที่ของตนในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง โดยการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ พร้อมทั้งรัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองตามกระบวนการ ช่องทางที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นรูปธรรม หากเป็นดังที่กล่าวมาแล้ว การมีส่วนร่วมทางการเมืองจะเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญมากที่สุดของการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนได้









แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายมรดกสำหรับพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายมรดกสำหรับพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่
ผู้วิจัยนางสาวสุพิชญา กันกา
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๔
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
           การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายมรดกสำหรับพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่” ครั้งนี้ผู้วิจัยทำการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายมรดกสำหรับพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่ 
มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ ๑) เพื่อศึกษากฎหมายมรดกสำหรับพระสงฆ์ ๒) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายมรดกสำหรับพระสงฆ์ 
๓) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายสำหรับพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่ ทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (QualitativeResearch) คณะผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มประชากรที่กำหนด(In-depth-interview) คือพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่ จำนวน ๒๐ รูป
           ผลการวิจัยพบว่า จากการสัมภาษณ์เรื่องสภาพทั่วไปของการส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายมรดกสำหรับพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่ ใน ๓ ประเด็น คือ ด้านองค์ความรู้ ด้านเนื้อหา และด้านประโยชน์ ในด้านองค์ความรู้พระสงฆ์ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายมรดกในขั้นพื้นฐานด้านเนื้อหาพระสงฆ์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่ากฎหมายมรดกในประเด็น พินัยกรรม มีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการภายในวัดมากที่สุด เพราะเห็นว่าเมื่อพระสงฆ์สามารถทำพินัยกรรมได้อย่างถูกต้องก็จะลดปัญหาความขัดแย้งในเรื่องของการจัดการ การแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ ด้านประโยชน์กฎหมายมรดกมีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการวัดทั้ง ๖ ด้าน เพราะกฎหมายมรดกช่วยให้ได้มาหรือรักษาทรัพย์สินของวัด เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนและส่งเสริมให้การบริหารจัดการวัดทั้ง ๖ ด้าน
          สำหรับแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายสำหรับพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่นั้นพบว่า มีแนวทางที่สำคัญ ๔ ประการ ๑) การบริการให้ความรู้ทางกฎหมายมรดกแก่พระสงฆ์ คือการจัดโครงการเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายมรดกให้แก่พระสงฆ์ ๒) การสนับสนุนให้พระสงฆ์เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านนิติศาสตร์ 
๓) สนับสนุนให้พระสงฆ์ที่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายมรดกเผยแผ่ความรู้ที่ได้จากการศึกษากฎหมายมรดกสู่คณะสงฆ์เป็นพระลูกวัดและคณะศรัทธาประชาชน ในโอกาสต่าง ๆ ๔) สนับสนุนส่งเสริมให้วัดเป็นสถานที่ไกล่เกลี่ยปรองดองเบื้องต้นหากเกิดข้อพิพาทเล็ก ๆ น้อย ๆ ทางกฎหมายมรดก








แนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยแนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของเทศบาล
ตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยผศ.ดร.สมจิต ขอนวงค์
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๔
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่คำมี 
อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ 
จังหวัดแพร่ การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ในพื้นที่เทศบาลตำบลแม่คำมี อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลการสัมภาษณ์ใช้วิธีการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
          ๑. การให้ความรู้ความเข้าใจนโยบายเกี่ยวกับปัญหา การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนโดยการประชาสัมพันธ์ชุมชน ประชุมผู้นำเพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับประชาชนได้เข้าใจและรับทราบถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชุมชน
          ๒. การมีส่วนร่วมในการจัดทำแบบสอบถาม ก่อนริเริ่มโครงการต่าง ๆ หรือการบรรยายและเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น มีการประชุม ปรึกษาหารือ สามารถเสนอปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ แสดงความคิดเห็นและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ
         ๓. การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เสนอปัญหา หรือปรึกษาหารือในที่ประชุม วิเคราะห์ และตัดสินใจ หาวิธีทาง แนวทางแก้ปัญหาให้กับชุมชน โดยเลือกแนวทางที่ได้ทำการตัดสินใจร่วมกัน