การศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ ๒) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (QualitativeResearch) คณะผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร
ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) พระสงฆ์ ผู้บริหาร คุณครู และนักเรียนผู้สูงอายุ จำนวน ๑๐รูป/คน สรุปผลการศึกษาวิจัย ดังนี้
การจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มี ๔ ด้านที่สำคัญ ประกอบไปด้วย ๑. หลักการจัดการเรียนการสอน คือ แบบเน้นตัวผู้เรียน, แบบเน้นความรู้ความสามารถ, แบบเน้นประสบการณ์, แบบเน้นทักษะกระบวนการและแบบเน้นการบูรณาการ
๒. ทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน คือ จัดการเรียนการสอนแบบกลุ่ม,จัดการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ,
การเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ ๓. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคือ การจัดกิจกรรม, การฝึกทักษะ,
การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง, และการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน ๔. อาจารย์ผู้สอน คือ การใช้สื่อและภาษา, การใช้เทคนิคการตั้งคำถาม, การใช้เทคโนโลยีช่วยสอน และ ความหลากหลายในการใช้สื่อ ๕. การประเมินการจัดการเรียนการสอน คือ ประเมินจากความสนใจ, พฤติกรรม, การค้นคว้างาน และการทำแบบทดสอบ
รูปแบบการจัดการเรียนสอนตามหลักพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยการนำหลักภาวนา ๔ ประยุกต์ ประกอบไปด้วย การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีบทบาทหรือส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทางกาย เรียกว่า
กายภาวนา การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจสามารถนำตนเองสู่การขเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เสริมสร้างความรู้ความคิดความเข้าใจ รู้จริง เรียกว่า จิตตภาวนา กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างนักเรียน การทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อพัฒนาทางสังคม เรียกว่าศีลภาวนา การพัฒนาปัญญาเพื่อให้เกิดขึ้นกับตนเองได้หลายทาง ทั้งจากการคิด การเขียน การถาม การอ่าน การฟัง การดู และการลงมือปฏิบัติ โดยสามารถพัฒนาปัญญาความรู้ให้เกิดขึ้นกับตนเอง จากรายวิชาที่ต้องลงมือปฏิบัติ มีการบูรณาการจัดการเรียนการสอนตามบริบทของชุมชน เรียกว่า ปัญญาภาวนา