ชื่อรายงานการวิจัยการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยพระครูปริยัติวรากร
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

           การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ ๓) เพื่อวิเคราะห์ระบบข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงของตำบลน้ำชำอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) ทั้งวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
ผลการศึกษาพบว่า
          ๑. การศึกษาการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์มีกระบวนการผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น องค์กรด้านการศึกษา สำนักงานกีฬาและท้องเที่ยว องค์กรด้านศาสนา องค์กรท้องถิ่น 
ซึ่งมีการทำงานเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เขตตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยแหล่งท่องเที่ยวที่มีศึกษาข้อมูลด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ๑) วนอุทยานแพะเมืองผี ซึ่งเป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ซึ่งสามารถค้นหาได้จากแหล่งข้อมูลของเพจของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ๒) การรวมกลุ่มด้านการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย ๑) กลุ่มทำข้าวแคบ และ ๒) กลุ่มทำข้าวแต๋น โดยการรวมกลุ่มด้านการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้รับความช่วยเหลือจาก
หน่วยงานจากภาครัฐ
          ๒. การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์มีกระบวนการสัมมนากลุ่มเพื่อพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมสำหรับการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ โดยผลของการสัมมนากลุ่มมีประเด็น ดังนี้ ๑) ด้านการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ๒) ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการข้อมูลชุมชน ๓) ด้านการการมีส่วนร่วมในการนำข้อมูลไปใช้เพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนเชิงสร้างสรรค์
          ๓. การวิเคราะห์ระบบข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์เป็นการดำเนินการในระดับของหมู่บ้านโดยเกิดจากการรวบรวมข้อมูลซึ่งได้ทั้งจากการสังเกตการณ์ (Observation) ซึ่งนักวิจัยได้วิเคราะห์การจัดการระบบข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่สร้างสรรค์ ดังต่อไปนี้  
๑) การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล ๒) การนำข้อมูลไปใช้ให้เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่สร้างสรรค์







          


         









ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *