Category Archives: ปีงบประมาณ

การจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ เชิงสร้างสรรค์ของตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ เชิงสร้างสรรค์ของตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยนายสุขุม  กันกา
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

         การวิจัยนี้ศึกษาฐานข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์   ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ศึกษาระบบการจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์  ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่และพัฒนาระบบฐานข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์  ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 
         การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยผสมผสานวิธี โดยมีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) และเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 รูป หรือ คน
            ผลการวิจัยพบว่าฐานข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์  ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ประกอบไปด้วย ข้อมูลการปกครองท้องที่ ข้อมูลด้านการปกครองท้องถิ่น ข้อมูลด้านวัฒนธรรมประเพณี ข้อมูลด้านการศึกษา ข้อมูลด้านสาธารณสุข/ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  และข้อมูลเครือข่ายองค์กร/ชมรมในพื้นที่  
         ระบบการจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ผู้ให้ข้อมูลหลักในการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ จำนวน 10 รูป หรือ คน โดยการพัฒนาฐานข้อมูลและความรู้ 7 ขั้นตอน 1.การแสวงหาความรู้ 2.การรวบรวมความรู้ 3.การจัดหมวดหมู่ความรู้ 4.การแลกเปลี่ยนความรู้ 5.การแชร์ความรู้ หรือแบ่งปันความรู้ 6.การถ่ายทอดความรู้ 7.การจัดเก็บความรู้
         และ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์  ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลในส่วนที่เป็นทางการ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ การออกแบบฐานข้อมูล  การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม การทดสอบและประเมินผล การติดตั้งระบบ  การบำรุงรักษาและเพิ่มความต้องการของระบบ และ การจัดทำเอกสารประกอบ ส่วนที่ไม่เป็นทางการเช่นประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านอาศัยการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้านและผู้ที่ชุมชนเคารพศรัทธานับถือเป็นผู้อนุรักษ์สืบสานถ่ายทอดและพัฒนาให้เหมาะสมกับยุคสมัย เทศบาลตำบลทุ่งกวาว มีส่วนร่วมในการสนับสนุนโดยผ่านแผนพัฒนาท้องถิ่น



















          


         









การพัฒนาพื้นทที่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการพัฒนาพื้นทที่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยผศ.ดร.ธาดา เจริญกุศล
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

         วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพื้นที่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลทุ่งกวาว
อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เพื่อศึกษาวิเคราะห์พื้นที่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ
ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และเพื่อพัฒนาพื้นที่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
 
         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการศึกษาแนวคิดทฤษฎี
 การท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาพื้นที่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ของตำบล
ทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่” รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน กลุ่มวิสาหกิจ และการศึกษาภาคสนาม (Field Study) เพื่อประมวลความคิดเห็นจากประชาชนในตำบลทุ่งกวาว กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ปราชญ์ชุมชน การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ใช้เป็นแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview Form)
         ผลการวิจัยพบว่า
         ๑. พื้นที่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่จังหวัดแพร่มีดังนี้ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมเนื่องจากชุมชนมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และชุมชนมีข้อกำหนดในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ด้านการจัดการ การจัดการมีความสำคัญต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเนื่องจากชุมชนมีกฎ กติกาในการจัดการสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว มีการกระจายผลประโยชน์ที่เป็นธรรม เศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ซึ่งมีสิ่งดึงดูดใจ สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ที่พัก และกิจกรรมต่าง ๆ ให้บริการนักท่องเที่ยวทั้งไทยและชาวต่างประเทศ มีกิจกรรมที่โดดเด่นมุ่งเน้นการส่งเสริมการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนของชุมชน
         ๒. วิเคราะห์พื้นที่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่จังหวัดแพร่ มีดังนี้ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มาอบรมให้ความรู้เพื่อมาพัฒนาการให้บริการท่องเที่ยว และให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ในด้านต่างๆ การถ่ายทอดความรู้ ช่วยพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ซึ่งการมีฐานการเรียนรู้อยู่ในชุมชนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลภายนอกได้ จึงกลายมาเป็นแหล่งต้อนรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบบ้านพักโฮมสเตย์ ทำให้มีการสร้างรายได้เสริมให้แก่ชุมชน และ
ได้แลกเปลี่ยนความคิดของแต่ละชุมชนที่ได้เข้ามาพักในโฮมสเตย์ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสัมผัสวัฒนธรรมวิถีชีวิต และการแสดงดนตรีกลุ่มดนตรีพื้นบ้าน ร่วมศึกษาเรียนรู้ไปกับชุมชน ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยการลงมือทำด้วยตนเอง มากว่ายืนดูการทำ ซึ่งจะเป็นการสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวและยังได้แลกเปลี่ยนความคิดอีกด้วย 
         ๓. พัฒนาพื้นที่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่จังหวัดแพร่ มีดังนี้ ๑) การจัดฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์แก่ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและประชาชนในท้องถิ่น โดยเน้นภาคปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี ๒) จัดและพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวให้การเรียนรู้ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการพักผ่อนหย่อนใจ ๓)จัดให้มีการประเมินผลระหว่างและหลังของการจัดทากิจกรรมการพัฒนาชุมชน 
๔) จัดศูนย์กลางของข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อการเผยแพร่ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และส่งเสริมกระบวนการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง ๕) มีการวางแผนพัฒนาชุมชนให้มีความพร้อมและความเหมาะสมที่จะเข้าสู่การดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว ๖) พัฒนาบุคลากรให้มีความเข้าใจในกระบวนการและโครงสร้างของระบบท่องเที่ยวเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องสามารถดำเนินการได้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

















          


         









นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของตําบลน้ำชํา อําเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการส่งเสริมระบบความยุติธรรมชุมชนแบบสันติวิธีของตำบลทุ่งกวาวอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยดร.ดําเนิน หมายดี
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทในการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์แบบมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลน้ำชํา และพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ในพื้นที่เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วม
ด้านเศรษฐกิจของชุมชนตําบลน้ำชํา และนําเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลน้ำชํา อําเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) 
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interviews) ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู็ใหญ่บ้าน และประชาชนทั่วไปและการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion)โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research:PAR) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การตีความตามวัตถุประสงค์
          ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนตำบลน้ำชำให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง อาศัยนโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติ และยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อนํามาพัฒนาชุมชนอย่างเป็นกระบวนการ ให้ประชาชนชุมชนรู็ถึงสิทธิ์หน้าที่ของตน ในการอยู่ร่วมกันในชุมชน กำหนดแผน
การปฏิบัติงานของชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดแพร่และมีการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
          ในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจมีหลายปัจจัยที่ใช้ชี้วัดสถานะทางเศรษฐกิจ 
ซึ่งเป็นตัววัดที่ไม่ได้สะท้อนถึงความอยู่ดีกินดี และคุณภาพชีวิตที่แท้จริงของคนในสังคมชนบท คำนึงถึงคุณภาพของสินค้าและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน การพัฒนามักมุ่งที่การเพิ่มรายได้ การมีทรัพยากรเชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชนที่ชุมชนมีความต้องการสร้างคุณค่า มูลค่าควบคู้กับการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมอย่างแท้จริง ชุมชนร่วมตัดสินใจลงมติที่จะดำเนินการตามแนวทางที่ชุมชนเห็นสมควร โดยการมีต้นแบบในการศึกษาที่ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมโดยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนการรักษาสมดุลระหว่าง
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการสร้างเครือข่ายในรูปแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ แสดงให้เห็นว่าชุมชนมีความเข็มแข็งในการพึ่งพาตนเองได้และได้รับความรู้และข้อมูลข่าว
สารอย่างกว้างขวางมากขึ้น
          เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมเสนอต่อชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ผ่านกระบวนการสนทนากลุ่มเพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนา พบว่า นโยบายการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ตำบลน้ำชํา ๑) ประกันราคาสินค้าที่จําหน่ายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง ให้ราคาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในผลิตภัณฑ์สินค้าหรือประเภทเดียวกัน ๒) พัฒนาฝีมือแรงงานในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือนให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ระดับมาตรฐานสากล และสามารถส่งออกขายได้ทั้งในและนอกประเทศ ๓) ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านการขายและการตลาดให้แก่ พ่อค้าและประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการขยายและการตลาดและมีความมั่นคงใน
การประกอบธุรกิจ ๔) ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่มศักยภาพในการระดมเงินทุนเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิต ๕) พัฒนาจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนไปสู่อุตสาหกรรมแบบเต็มตัว ๖) สามารถระดมเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตสินค้าของแต่ละกลุ่มอาชีพ ๗) สนับสนุนเงินทุนแก่กลุ่มอาชีพ
          ส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ตำบลน้ำชำ ๑) มีการปรับโครงสร้างการผลิตสู่การพึ่งพาตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปรับระบบการผลิตที่สร้างมูลค้าเพิ่มอย่างสมดุล เพื่อคงความ
เป็นรากฐานเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์การเกษตร ๒) มีการยกระดับการค้าและการบริการให้ได้มาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ๓) มีการพัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญเพื่อรองรับการเชื่อมโยงในระดับที่สูงขึ้นไป ๔) มีการพัฒนาบุคลากรทางสังคมให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงมีความมั่นคงและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา แรงงาน 
ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในภายภาคหน้า ๕) มีการพัฒนาศักยภาพของสถาบันครอบครัวและชุมชนให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาที่นําไปสู่การพึ่งตนเอง ๖) ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ
ด้านเศรษฐกิจ ควรมีการบริการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เน้นการอนุรักษ์ฟื้นฟูและ
ใช้ประโยชน์อย่างสมดุล และเตรียมการป้องกันและรับมีอภัยธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน















          


         









การส่งเสริมระบบความยุติธรรมชุมชนแบบสันติวิธีของตำบลทุ่งกวาวอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการส่งเสริมระบบความยุติธรรมชุมชนแบบสันติวิธีของตำบลทุ่งกวาวอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยนางสาวสุพิชญา กันกา
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการยุติธรรมของชุมชน ตำบลทุ่งกวาวอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เพื่อส่งเสริมการจัดการระบบยุติธรรมชุมชนตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เพื่อเสนอระบบการจัดการยุติธรรมชุมชนแบบสันติวิธีของตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่การดำเนินงานวิจัยนี้เป็นการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)มีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก 
(In Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)และสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussions)
          ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการยุติธรรมชุมชนของตำบลทุ่งกวาว เป็นไปในรูปแบบการประสาน
การเจรจา การไกล่เกลี่ย และการตัดสินข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทของชุมชนผ่านผู้นำท้องที่ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน หรือผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้านชุมชนเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งการเจรจา ไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาทผ่านผู้นำทางศาสนา โดยวิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ณ สถานที่ที่เกิดข้อพิพาท สถานที่ที่สะดวกต่อการเดินทางของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย สถานที่ที่ทำการกำนัน 
ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หรือเทศบาลตำบลทุ่งกวาวตามแต่ลกลงกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี โดยมากแล้วจะเป็นการเจรจา ไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาทที่ไม่มีข้อยุ่งยาก เป็นการรับฟังและร่วมหาทางออกของปัญหาโดยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้รับความพึงพอใจ ได้ทางออกเพื่อเยียวยาผู้ถูกกระทำและผู้กระทำผิด ซึ่งการหาทางออกนี้ไม่ใช่หาแนวทางเพื่อการแก้แค้นลงโทษผู้กระทำผิดการส่งเสริมการจัดการระบบยุติธรรมชุมชนตำบลทุ่งกวาว เกิดขึ้นโดยการที่คนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชน ข้าราชการในพื้นที่ คณะกรรมการหมู่บ้าน เทศบาลตำบล ผู้นำองค์กรหรือกลุ่มอาชีพ ตำรวจชุมชนประจำตำบล เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดใจ เปิดโอกาสเห็นชอบ และให้ความร่วมมือในการตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรม 
เพื่อดำเนินงานด้านการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทให้เป็นระบบ มีการสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชนในการรวมตัวกันเพื่อป้องกันและบรรเทาอาชญากรรม การจัดการข้อขัดแย้งภายในชุมชน ทางด้านเทศบาลตำบลทุ่งกวาวได้มี
การอำนวยความสะดวกในเรื่องของการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนในเรื่องของการแต่งตั้งคณะกรรมการยุติธรรมชุมชน บุคลากร เจ้าหน้าที่ อำนวยความสะดวกในเรื่องของสถานที่ และมีการส่งเสริม พัฒนาประชาชนในเรื่องของการมีรายได้ มีอาชีพ เพื่อจะช่วยอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัด















          


         









การจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยผศ.สุพจน์ แก้วไพฑูรย์
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

         วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฐานข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เพื่อศึกษาระบบการจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบ
มีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และเพื่อพัฒนาฐานระบบการจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยผสมผสานวิธี โดยมีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) และเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 13 รูป หรือ คน
          ผลการวิจัยพบว่า ฐานข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของ
ตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ประกอบไปด้วย ประวัติความเป็นมา ข้อมูลทางด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับพื้นที่ ข้อมูลด้านวัฒนธรรมประเพณีซึ่งเกิดขึ้นในรอบ 12 เดือน ข้อมูลด้านการบริหาร ข้อมูลด้านอาชีพตำบลกาญจนาประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลกาญจนาประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตที่สำคัญ
ของตำบลได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง ผลไม้ เป็นต้นส่วนระบบการจัดการข้อมูลและความรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ จำนวน 13 รูป หรือ คน โดยการพัฒนาฐานข้อมูลและความรู้ 7 ขั้นตอน 1.การแสวงหาความรู้ 2.การรวบรวมความรู้ 3.การจัดหมวดหมู่ความรู้ 4.การแลกเปลี่ยนความรู้ 5.การแชร์ความรู้ หรือแบ่งปันความรู้ 6.การถ่ายทอดความรู้ 7.การจัดเก็บความรู้และการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ตามการรวบรวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลในการศึกษา ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์โดยฐานข้อมูลที่เป็นทางการ และการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์โดยสารข้อมูลที่ไม่เป็นทางการเช่น 
การสนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ตามวาระโอกาสในรอบ 12 เดือน มีการร่วมมือกันโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ในยามวิกาล ตลอดถึงการไก่ลเกลี่ยประนีประนอมข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชนให้เกิดการยอมรับและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และองค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนา
มีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างสูง ด้วยการอาศัยฐานข้อมูลความรู้ของชุมชนที่เกิดขึ้นในปีก่อนหน้า หรือที่ผ่านมา นำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตำบลกาญจนา โดยผ่านกระบวนการการประชาคมหมู่บ้านในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนตำบลกาญจนารวมทั้ง 9 หมู่บ้าน














          


         









การเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ฟองคำ
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 
๓) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พระสงฆ์ในเขตตำบลน้ำชำ ผู้นำชุมชนในตำบลน้ำชำ กลุ่มชาวบ้านสัมมาชีพ และกลุ่มชาวบ้านทั่วไปในชุมชน จำนวน ๒๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depthInterviews) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Groups Discussion) ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มย่อย
          ผลการวิจัย พบว่า
          ๑. ข้อมูลสภาพภูมิหลังของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่มีความพร้อมและเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมจิตอาสา การเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธและการสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพราะว่าตำบลน้ำชำมีสภาพเป็นที่ลุ่ม ชุ่มฉ่ำน้ำ ร่มเย็น มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และน้ำที่ไหลซึมตลอดทั้งปีมีธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ใกล้ห้วยน้ำปึง ทุ่งเก่า และทุ่งอ้องล้อง สำหรับด้านวัฒนธรรมประเพณี ในรอบ ๑๒ เดือน มีประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีบวชนาค พิธีบายศรีสู่ขวัญ, ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า ประเพณีเลี้ยงผีฝาย ประเพณีสืบชะตาแม่น้ำ ด้านอาชีพตำบลน้ำชำ อาชีพของประชากรตำบลน้ำชำ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม ทำ นา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ หาของป่าและค้าขาย บางส่วนประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน และรับจ้างแรงงาน ผลผลิตที่สำคัญของตำบล คือ กลุ่มแปรรูปข้าวแต๋น กลุ่มแปรรูปข้าวแคบ กลุ่มแปรรูปนมถั่วเหลืองอิ่มทิพย์ และกลุ่มทำกล้วยฉาบหงส์ทองหรือกล้วยหลอด
          ๒. การเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า ประชาชนในตำบลน้ำชำมีความรู้ความเข้าใจในความหมาของจจิตอาสาหมายถึง 
การทำงานด้านการช่วยเหลือชุมชน บุคคล ทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ และเป็นการทำงานที่การบูรณาการหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ในการช่วยเหลืองานด้านศาสนา ชุมชน สังคมด้วยความสมัครใจ และไม่หวังผลตอบแทนได้มีการเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธโดยมีการจัดกิจกรรมในการพัฒนาชุมชน การจัดกิจกรรมในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน การจัดกิจกรรมด้านสาธารณสุขในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ มีกระบวนการเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธ โดยการสำรวจผู้ป่วยโควิดเบื้องต้นโดยให้อสม.ที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่โดยแบ่งคนหนึ่งให้รับผิดชอบในบริเวณใกล้บ้าน
          ๓. การเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า การจัดกิจกรรมการเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธด้วยการร่วมแรง ร่วมใจ ด้วยการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวิตใน ๔ ประเด็น ได้แก่ ด้านการให้ความรู้จิตอาสา (หลักสังคหวัตถุ ๔ ) ด้านการจัดกิจกรรมจิตอาสา (หลักพรหมวิหาร ๔) ด้านการเสริมสร้างการเรียนรู้จิตอาสา (หลักอิทธิบาท ๔) และด้านกระบวนการจัดกิจกรรมจิตอาสา (หลักอปริหานิยธรรม ๗) เกิดเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาชุมชนตำบลน้ำชำขึ้นมากมาย เช่นเครือข่ายกลุ่มสัมมาชีพ กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มชาวบ้านในชุมชนตำบลน้ำชำที่การช่วยเหลือกันและกันอย่างไม่หวังสิ่งตอบแทน












          


         









การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยผศ.ดร.สมจิต ขอนวงค์
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมตำบล
น้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่ ๓) เพื่อน้าเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research)  
ทั้งวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) 
ผลการศึกษาพบว่า
          ๑. รูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมตำบลน้ำช้ำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำอาชีพเกษตรกรรมคือปลูกข้าว ซึ่งถือเป็นวิถีดั้งเดิมของชาวบ้าน ได้ทำการเพาะข้าวปลูกมาต่อเนื่องยาวนาน แต่ยังขาดองค์ความรู้การทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าว พอดีมีนโยบายของรัฐบาลผ่านกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เกิดกลุ่มผู้ผลิตข้าวแต๋น ขึ้น ซึ่งเดิมชาวบ้านก็ทำตามความรู้ดั้งเดิมของชาวบ้านคือการสีข้าว 
คัดข้าวเปลือกออกจากข้าวสารที่สีแล้วด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิกกลุ่ม ในช่วงของหลังการเพาะปลูก ก็ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มเติมขึ้นจากเดิมพอประมาณ เพราะความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปข้าวมาเป็นข้าวแต๋น ข้าวแคบ ข้าวกล้อง  ชาวบ้านก็ทำตามความรู้ดั้งเดิมคือการใส่ถุงพลาสติก แล้วนำไปขายในตลาดปัญหา และอุปสรรคในการการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นในด้านการรักษาคุณภาพข้าวแต๋นให้อยู่อย่างยาวนาน อันเนื่องมาจากการทำบรรจุภัณฑ์ที่ยังไม่ทันสมัย ไม่ตอบสนองต่อผู้บริโภคดังจะเห็นได้จากทำให้ข้าวมีกลิ่น จากนั่นยังมีปัญหาแบรนด์หรือตราสินค้าที่เป็นของตนเอง ขาดการมีส่วนในของชุมชหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาวางแผนให้ข้อคิดแนวทางการในการพัฒนารูแปบบผลิตภัณฑ์ขาดการประชาสัมพันธ์เป็นต้นรูปแบบผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นชุมชนตำบลน้ำชำ มีรูปแบบอย่างง่าย ๆ พิมพ์ข้อความบรรยายสรรพคุณบนกระดาษธรรมดาติดไว้ที่ผลิตภัณฑ์ สินค้า บางประเภทเภทบรรจุถุงพลาสติกลงกล่องกระดาษมีฉลากสินค้า ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่สะดุดตาของผู้บริโภค
          ๒. การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่ทางกลุ่มได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมและให้ให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยผสมผสานระหว่างแนวคิดเรื่องราวสภาพเศรษฐกิจและสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเน้นการใช้วัตถุดิบในชุมชนลักษณะของพื้นที่และในด้านอื่น ๆ ทำให้เกิดทันสมัยประกอบกับแนวคิดการออกแบบดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชนใน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ โดยระดมแนวความคิดในการหาแนวทางการพัฒนาพัสดุ กระบวนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นแบบใหม่ ประกอบกับ ด้านลวดลายการออกแบบ ด้านราคาสินค้า ด้านการตลาด 
เพื่อตอบสนองกับผู้บริโภค
          ๓. ผลิตภัณฑ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นแบบมีส่วนร่วมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ของผลิตภัณฑ์โดยวางแนวคิดลวดลายของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประกอบกับแนวคิดที่สร้างสรรค์ในการออกแบบรูปร่าง รูปทรง ลวดลาย และขนาดผลิตภัณฑ์ ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ซ้ำใครรูปลักษณ์สีสันทันสมัย ไม่ท้าให้สินค้ามีกลิ่น รักษาคุณภาพข้าวให้อยู่ใช้เวลานาน สัญลักษณ์และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ตราฉลากผลิตภัณฑ์สะดุดตา เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และการตลาดของของสินค้าต่อกลุ่มผู้บริโภคสอดคล้องกับ











          


         









การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยนายปัญญา สุนันตา
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อศึกษาการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อสังเคราะห์การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ ๓) เพื่อนำเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) ทั้งวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
ผลการศึกษาพบว่า
         ๑. การศึกษาการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ด้านบริบท การท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วนอุทยานแพะเมืองผี มีตำนานเรื่องเล่าที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตที่ยาวนาน โดยไม่มีใครทราบถึงความเป็นมาที่แท้จริง แต่ได้กล่าวกันว่าพื้นที่แห่งนี้มีคนพบสมบัติและพากันสืบเสาะค้นหาแต่ไม่พบเป้าหมายที่ต้องการ พบเพียงแค่รอยเท้าพาเข้าไปถึงบริเวณที่เป็นแพะเมืองผีในปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่แสดงถึงกระบวนการผลิตที่เริ่มต้นจากชุมชน อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าทางสังคมทำให้มีกระบวนการที่พึ่งพาตนเองได้ ด้านทรัพยากรการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วนอุทยานแพะเมืองผีเกิดขึ้นประมาณไม่เกิน ๒ ล้านปี เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่าง ๆ ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่มีการกระจายไปในชุมชน เป็นการประกอบการขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว ด้านกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วนอุทยานแพะเมืองผี กิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกิจกรรมที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และมีการเปิดให้เข้าศึกษาดูงานเพื่อเสริมสร้างความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์
ทางการเกษตรที่มีการกระจายไปในชุมชน ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานจากภาครัฐ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการดำเนินการอย่างเข็มแข็งและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
         ๒. การสังเคราะห์การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้านศักยภาพเชิงพื้นที่ มีการจัดกิจกรรมที่เป็นเป้าหมายหลักของชุมชน เช่น ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเดิมของท้องถิ่น ด้านกิจกรรมการท้องเที่ยว การวางรูปแบบการพัฒนาพื้นที่เพื่อให้การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นกระบวนการเพื่อยกระดับการท้องเที่ยวในชุมชนให้เกิดการกระตุ้นในชุมชน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ การบริหารจัดการพื้นที่ ความเหมาะสมของพื้นที่ ความเพียงพอต่อความต้องการของนักท้องเที่ยว ด้านศักยภาพตัวบุคคลในพื้นที่การรับรู้และรับทราบข้อมูลต่าง ๆ ของหมู่บ้านและข่าวสารต่าง ๆ จากสังคมเพื่อนำมาปรับพัฒนากับชุมชนให้เกิดความเหมาะสมที่ดีกับพื้นที่
         ๓. การเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จากการสังเคราะห์แนวทางสำหรับพัฒนาพื้นที่ในการจัดกิจกรรมท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการ 3S ประกอบด้วย ๑) เรื่องราว (Storytelling) การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานชุมชนเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่และสร้างกิจกรรมท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็น
กระบวนการที่เชื่อมต่อระหว่างความเป็นชุมชนในอดีต ความเป็นไปในปัจจุบัน และความเป็นไป
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ๒) อรรถรส (Senses) การศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับบริบท สิ่งแวดล้อมของพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดความน่าสนใจ การวางรูปแบบพื้นที่ให้เกิดความน่าสนใจสำหรับนักท้องเที่ยว การออกแบบพื้นที่และกิจกรรมท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมของพื้นที่ให้เกิดความน่าสนใจ ๓) ลีลา (Sophistication) กระบวนการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดความน่าประทับใจ เป็นการนำเอากระบวนการทั้งหมดรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างแบรนด์ของพื้นที่ให้เป็นที่จดจำสำหรับนักท้องเที่ยว










          


         









การส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตําบลกาญจนา อําเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตําบลกาญจนา อําเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยผศ.ดร.นวัชโรจน์ อินเต็ม
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

          การวิจัยเรื่อง การส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๒. เพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documen taryResearch) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้นำคณะสงฆ์ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำชุมชนจังหวัดแพร่ ในจังหวัดแพร่ จำนวน ๑ ตำบล ๙ หมู่บ้าน จำนวน ๑๘ รูป/คน โดยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sample selection) เพื่อศึกษาประวัติศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และส่งเสริมยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ซึ่งได้ทำการสนทนาเฉพาะกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ร่วมกับผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำชุมชน จำนวน ๑๐ รูป/คน ซึ่งเป็นตัวแทนใน ๙ หมู่บ้าน  เพื่อวิเคราะห์ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และส่งเสริมยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ ผลการวิจัยพบว่า 
          ๑. ผลการศึกษาผู้มีส่วนร่วมในการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่พบว่าข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ ส่วนมากเป็นบรรพชิต คิดเป็นร้อยละคิดเป็นร้อยละ ๒๕.๐๐ รองลงมาเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ ผู้นำชุมชน ตามลำดับ ส่วน อายุ พบว่า ส่วนมาก อายุ ๔๖-๖๐ คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐ รองลงมา อายุ ๔๐-๔๕ และอายุ ๖๑-๘๐ ระดับการศึกษา พบว่า ส่วนมากมีระดับปริญญาตรีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๐๐ รองลงไปเป็นระดับขระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๕ และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอนุปริญญา และสูงกว่า 
ด้านอาชีพ พบว่า ส่วนมากเป็น เป็นนักบวช คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ รองลงไปเป็นอาชีพรับราชการ ค้าขาย รับจ้าง กสิกรรม ด้านบทบาทหรือสถานภาพในชุมชน พบว่า ส่วนมากเป็นปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๕๐ รองลงไปเป็นมัคนายก กรรมการวัด และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามลำดับ ผลการศึกษาเกี่ยวกับส่งเสริมยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑
ผลการวิจัยพบว่า 
          ๑.ชุมชนมีความร่วมมือในการเสริมสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
         ๒.ชุมชนมีการจัดบทบาทของกลุ่มชุมชนที่มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
         ๓.ชุมชนมีการได้รับประโยชน์ที่เกิดจาการส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
         ๔.ชุมชนมีการสร้างความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ที่มีต่อการในการเสริมสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2 พบว่า 
         ๑.ชุมชนมีกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายเพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
         ๒.ชุมชนมีกระบวนการจัดทรัพยากรขององค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 
         ๓.ชุมชนมีแนวทางเสริมสร้างความยั่งยืนเพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 
         อย่างไรก็ตาม ผลจากการวิจัยเรื่อง การส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่นี้ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง ถ้าจะให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้มากยิ่งขึ้น ควรมีกระบวนการสร้างและการใช้องค์ความรู้จากศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นโดยเน้นการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่ายทั้งภาคผู้นำคณะสงฆ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และภาคเอกชนได้เข้ามาส่งเสริม สนับสนุนให้มากขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามและยั่งยืนของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนต่อไป








          


         









การจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัยการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยพระครูปริยัติวรากร
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

           การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ ๓) เพื่อวิเคราะห์ระบบข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงของตำบลน้ำชำอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) ทั้งวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
ผลการศึกษาพบว่า
          ๑. การศึกษาการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์มีกระบวนการผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น องค์กรด้านการศึกษา สำนักงานกีฬาและท้องเที่ยว องค์กรด้านศาสนา องค์กรท้องถิ่น 
ซึ่งมีการทำงานเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เขตตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยแหล่งท่องเที่ยวที่มีศึกษาข้อมูลด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ๑) วนอุทยานแพะเมืองผี ซึ่งเป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ซึ่งสามารถค้นหาได้จากแหล่งข้อมูลของเพจของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ๒) การรวมกลุ่มด้านการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย ๑) กลุ่มทำข้าวแคบ และ ๒) กลุ่มทำข้าวแต๋น โดยการรวมกลุ่มด้านการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้รับความช่วยเหลือจาก
หน่วยงานจากภาครัฐ
          ๒. การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์มีกระบวนการสัมมนากลุ่มเพื่อพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมสำหรับการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ โดยผลของการสัมมนากลุ่มมีประเด็น ดังนี้ ๑) ด้านการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ๒) ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการข้อมูลชุมชน ๓) ด้านการการมีส่วนร่วมในการนำข้อมูลไปใช้เพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนเชิงสร้างสรรค์
          ๓. การวิเคราะห์ระบบข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์เป็นการดำเนินการในระดับของหมู่บ้านโดยเกิดจากการรวบรวมข้อมูลซึ่งได้ทั้งจากการสังเกตการณ์ (Observation) ซึ่งนักวิจัยได้วิเคราะห์การจัดการระบบข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่สร้างสรรค์ ดังต่อไปนี้  
๑) การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล ๒) การนำข้อมูลไปใช้ให้เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่สร้างสรรค์