ชื่อรายงานการวิจัยการเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ฟองคำ
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 
๓) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พระสงฆ์ในเขตตำบลน้ำชำ ผู้นำชุมชนในตำบลน้ำชำ กลุ่มชาวบ้านสัมมาชีพ และกลุ่มชาวบ้านทั่วไปในชุมชน จำนวน ๒๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depthInterviews) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Groups Discussion) ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มย่อย
          ผลการวิจัย พบว่า
          ๑. ข้อมูลสภาพภูมิหลังของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่มีความพร้อมและเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมจิตอาสา การเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธและการสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพราะว่าตำบลน้ำชำมีสภาพเป็นที่ลุ่ม ชุ่มฉ่ำน้ำ ร่มเย็น มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และน้ำที่ไหลซึมตลอดทั้งปีมีธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ใกล้ห้วยน้ำปึง ทุ่งเก่า และทุ่งอ้องล้อง สำหรับด้านวัฒนธรรมประเพณี ในรอบ ๑๒ เดือน มีประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีบวชนาค พิธีบายศรีสู่ขวัญ, ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า ประเพณีเลี้ยงผีฝาย ประเพณีสืบชะตาแม่น้ำ ด้านอาชีพตำบลน้ำชำ อาชีพของประชากรตำบลน้ำชำ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม ทำ นา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ หาของป่าและค้าขาย บางส่วนประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน และรับจ้างแรงงาน ผลผลิตที่สำคัญของตำบล คือ กลุ่มแปรรูปข้าวแต๋น กลุ่มแปรรูปข้าวแคบ กลุ่มแปรรูปนมถั่วเหลืองอิ่มทิพย์ และกลุ่มทำกล้วยฉาบหงส์ทองหรือกล้วยหลอด
          ๒. การเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า ประชาชนในตำบลน้ำชำมีความรู้ความเข้าใจในความหมาของจจิตอาสาหมายถึง 
การทำงานด้านการช่วยเหลือชุมชน บุคคล ทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ และเป็นการทำงานที่การบูรณาการหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ในการช่วยเหลืองานด้านศาสนา ชุมชน สังคมด้วยความสมัครใจ และไม่หวังผลตอบแทนได้มีการเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธโดยมีการจัดกิจกรรมในการพัฒนาชุมชน การจัดกิจกรรมในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน การจัดกิจกรรมด้านสาธารณสุขในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ มีกระบวนการเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธ โดยการสำรวจผู้ป่วยโควิดเบื้องต้นโดยให้อสม.ที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่โดยแบ่งคนหนึ่งให้รับผิดชอบในบริเวณใกล้บ้าน
          ๓. การเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า การจัดกิจกรรมการเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธด้วยการร่วมแรง ร่วมใจ ด้วยการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวิตใน ๔ ประเด็น ได้แก่ ด้านการให้ความรู้จิตอาสา (หลักสังคหวัตถุ ๔ ) ด้านการจัดกิจกรรมจิตอาสา (หลักพรหมวิหาร ๔) ด้านการเสริมสร้างการเรียนรู้จิตอาสา (หลักอิทธิบาท ๔) และด้านกระบวนการจัดกิจกรรมจิตอาสา (หลักอปริหานิยธรรม ๗) เกิดเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธในการพัฒนาชุมชนตำบลน้ำชำขึ้นมากมาย เช่นเครือข่ายกลุ่มสัมมาชีพ กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มชาวบ้านในชุมชนตำบลน้ำชำที่การช่วยเหลือกันและกันอย่างไม่หวังสิ่งตอบแทน












          


         









ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *