ชื่อรายงานการวิจัยการส่งเสริมระบบความยุติธรรมชุมชนแบบสันติวิธีของตำบลทุ่งกวาวอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยดร.ดําเนิน หมายดี
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทในการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์แบบมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลน้ำชํา และพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ในพื้นที่เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วม
ด้านเศรษฐกิจของชุมชนตําบลน้ำชํา และนําเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลน้ำชํา อําเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) 
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interviews) ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู็ใหญ่บ้าน และประชาชนทั่วไปและการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion)โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research:PAR) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การตีความตามวัตถุประสงค์
          ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนตำบลน้ำชำให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง อาศัยนโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติ และยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อนํามาพัฒนาชุมชนอย่างเป็นกระบวนการ ให้ประชาชนชุมชนรู็ถึงสิทธิ์หน้าที่ของตน ในการอยู่ร่วมกันในชุมชน กำหนดแผน
การปฏิบัติงานของชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดแพร่และมีการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
          ในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจมีหลายปัจจัยที่ใช้ชี้วัดสถานะทางเศรษฐกิจ 
ซึ่งเป็นตัววัดที่ไม่ได้สะท้อนถึงความอยู่ดีกินดี และคุณภาพชีวิตที่แท้จริงของคนในสังคมชนบท คำนึงถึงคุณภาพของสินค้าและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน การพัฒนามักมุ่งที่การเพิ่มรายได้ การมีทรัพยากรเชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชนที่ชุมชนมีความต้องการสร้างคุณค่า มูลค่าควบคู้กับการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมอย่างแท้จริง ชุมชนร่วมตัดสินใจลงมติที่จะดำเนินการตามแนวทางที่ชุมชนเห็นสมควร โดยการมีต้นแบบในการศึกษาที่ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมโดยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนการรักษาสมดุลระหว่าง
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการสร้างเครือข่ายในรูปแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ แสดงให้เห็นว่าชุมชนมีความเข็มแข็งในการพึ่งพาตนเองได้และได้รับความรู้และข้อมูลข่าว
สารอย่างกว้างขวางมากขึ้น
          เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมเสนอต่อชุมชนตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ผ่านกระบวนการสนทนากลุ่มเพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนา พบว่า นโยบายการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ตำบลน้ำชํา ๑) ประกันราคาสินค้าที่จําหน่ายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง ให้ราคาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในผลิตภัณฑ์สินค้าหรือประเภทเดียวกัน ๒) พัฒนาฝีมือแรงงานในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือนให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ระดับมาตรฐานสากล และสามารถส่งออกขายได้ทั้งในและนอกประเทศ ๓) ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านการขายและการตลาดให้แก่ พ่อค้าและประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการขยายและการตลาดและมีความมั่นคงใน
การประกอบธุรกิจ ๔) ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่มศักยภาพในการระดมเงินทุนเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิต ๕) พัฒนาจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนไปสู่อุตสาหกรรมแบบเต็มตัว ๖) สามารถระดมเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตสินค้าของแต่ละกลุ่มอาชีพ ๗) สนับสนุนเงินทุนแก่กลุ่มอาชีพ
          ส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ตำบลน้ำชำ ๑) มีการปรับโครงสร้างการผลิตสู่การพึ่งพาตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปรับระบบการผลิตที่สร้างมูลค้าเพิ่มอย่างสมดุล เพื่อคงความ
เป็นรากฐานเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์การเกษตร ๒) มีการยกระดับการค้าและการบริการให้ได้มาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ๓) มีการพัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญเพื่อรองรับการเชื่อมโยงในระดับที่สูงขึ้นไป ๔) มีการพัฒนาบุคลากรทางสังคมให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงมีความมั่นคงและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา แรงงาน 
ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในภายภาคหน้า ๕) มีการพัฒนาศักยภาพของสถาบันครอบครัวและชุมชนให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาที่นําไปสู่การพึ่งตนเอง ๖) ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ
ด้านเศรษฐกิจ ควรมีการบริการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เน้นการอนุรักษ์ฟื้นฟูและ
ใช้ประโยชน์อย่างสมดุล และเตรียมการป้องกันและรับมีอภัยธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน















          


         









ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *