ชื่อรายงานการวิจัยการส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตําบลกาญจนา อําเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยผศ.ดร.นวัชโรจน์ อินเต็ม
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

          การวิจัยเรื่อง การส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๒. เพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documen taryResearch) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้นำคณะสงฆ์ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำชุมชนจังหวัดแพร่ ในจังหวัดแพร่ จำนวน ๑ ตำบล ๙ หมู่บ้าน จำนวน ๑๘ รูป/คน โดยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sample selection) เพื่อศึกษาประวัติศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และส่งเสริมยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ซึ่งได้ทำการสนทนาเฉพาะกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ร่วมกับผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำชุมชน จำนวน ๑๐ รูป/คน ซึ่งเป็นตัวแทนใน ๙ หมู่บ้าน  เพื่อวิเคราะห์ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และส่งเสริมยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ ผลการวิจัยพบว่า 
          ๑. ผลการศึกษาผู้มีส่วนร่วมในการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่พบว่าข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ ส่วนมากเป็นบรรพชิต คิดเป็นร้อยละคิดเป็นร้อยละ ๒๕.๐๐ รองลงมาเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ ผู้นำชุมชน ตามลำดับ ส่วน อายุ พบว่า ส่วนมาก อายุ ๔๖-๖๐ คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐ รองลงมา อายุ ๔๐-๔๕ และอายุ ๖๑-๘๐ ระดับการศึกษา พบว่า ส่วนมากมีระดับปริญญาตรีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๐๐ รองลงไปเป็นระดับขระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๕ และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอนุปริญญา และสูงกว่า 
ด้านอาชีพ พบว่า ส่วนมากเป็น เป็นนักบวช คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ รองลงไปเป็นอาชีพรับราชการ ค้าขาย รับจ้าง กสิกรรม ด้านบทบาทหรือสถานภาพในชุมชน พบว่า ส่วนมากเป็นปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๕๐ รองลงไปเป็นมัคนายก กรรมการวัด และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามลำดับ ผลการศึกษาเกี่ยวกับส่งเสริมยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑
ผลการวิจัยพบว่า 
          ๑.ชุมชนมีความร่วมมือในการเสริมสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
         ๒.ชุมชนมีการจัดบทบาทของกลุ่มชุมชนที่มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
         ๓.ชุมชนมีการได้รับประโยชน์ที่เกิดจาการส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
         ๔.ชุมชนมีการสร้างความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ที่มีต่อการในการเสริมสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2 พบว่า 
         ๑.ชุมชนมีกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายเพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
         ๒.ชุมชนมีกระบวนการจัดทรัพยากรขององค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 
         ๓.ชุมชนมีแนวทางเสริมสร้างความยั่งยืนเพื่อยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 
         อย่างไรก็ตาม ผลจากการวิจัยเรื่อง การส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่นี้ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง ถ้าจะให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้มากยิ่งขึ้น ควรมีกระบวนการสร้างและการใช้องค์ความรู้จากศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นโดยเน้นการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่ายทั้งภาคผู้นำคณะสงฆ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และภาคเอกชนได้เข้ามาส่งเสริม สนับสนุนให้มากขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามและยั่งยืนของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนต่อไป








          


         









ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *