ชื่อรายงานการวิจัยการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยนายปัญญา สุนันตา
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อศึกษาการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อสังเคราะห์การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ ๓) เพื่อนำเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) ทั้งวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
ผลการศึกษาพบว่า
         ๑. การศึกษาการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ด้านบริบท การท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วนอุทยานแพะเมืองผี มีตำนานเรื่องเล่าที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตที่ยาวนาน โดยไม่มีใครทราบถึงความเป็นมาที่แท้จริง แต่ได้กล่าวกันว่าพื้นที่แห่งนี้มีคนพบสมบัติและพากันสืบเสาะค้นหาแต่ไม่พบเป้าหมายที่ต้องการ พบเพียงแค่รอยเท้าพาเข้าไปถึงบริเวณที่เป็นแพะเมืองผีในปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่แสดงถึงกระบวนการผลิตที่เริ่มต้นจากชุมชน อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าทางสังคมทำให้มีกระบวนการที่พึ่งพาตนเองได้ ด้านทรัพยากรการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วนอุทยานแพะเมืองผีเกิดขึ้นประมาณไม่เกิน ๒ ล้านปี เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่าง ๆ ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่มีการกระจายไปในชุมชน เป็นการประกอบการขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว ด้านกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วนอุทยานแพะเมืองผี กิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกิจกรรมที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และมีการเปิดให้เข้าศึกษาดูงานเพื่อเสริมสร้างความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ ศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์
ทางการเกษตรที่มีการกระจายไปในชุมชน ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานจากภาครัฐ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการดำเนินการอย่างเข็มแข็งและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
         ๒. การสังเคราะห์การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้านศักยภาพเชิงพื้นที่ มีการจัดกิจกรรมที่เป็นเป้าหมายหลักของชุมชน เช่น ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเดิมของท้องถิ่น ด้านกิจกรรมการท้องเที่ยว การวางรูปแบบการพัฒนาพื้นที่เพื่อให้การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นกระบวนการเพื่อยกระดับการท้องเที่ยวในชุมชนให้เกิดการกระตุ้นในชุมชน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ การบริหารจัดการพื้นที่ ความเหมาะสมของพื้นที่ ความเพียงพอต่อความต้องการของนักท้องเที่ยว ด้านศักยภาพตัวบุคคลในพื้นที่การรับรู้และรับทราบข้อมูลต่าง ๆ ของหมู่บ้านและข่าวสารต่าง ๆ จากสังคมเพื่อนำมาปรับพัฒนากับชุมชนให้เกิดความเหมาะสมที่ดีกับพื้นที่
         ๓. การเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จากการสังเคราะห์แนวทางสำหรับพัฒนาพื้นที่ในการจัดกิจกรรมท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการ 3S ประกอบด้วย ๑) เรื่องราว (Storytelling) การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานชุมชนเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่และสร้างกิจกรรมท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็น
กระบวนการที่เชื่อมต่อระหว่างความเป็นชุมชนในอดีต ความเป็นไปในปัจจุบัน และความเป็นไป
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ๒) อรรถรส (Senses) การศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับบริบท สิ่งแวดล้อมของพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดความน่าสนใจ การวางรูปแบบพื้นที่ให้เกิดความน่าสนใจสำหรับนักท้องเที่ยว การออกแบบพื้นที่และกิจกรรมท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมของพื้นที่ให้เกิดความน่าสนใจ ๓) ลีลา (Sophistication) กระบวนการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท้องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดความน่าประทับใจ เป็นการนำเอากระบวนการทั้งหมดรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างแบรนด์ของพื้นที่ให้เป็นที่จดจำสำหรับนักท้องเที่ยว










          


         









ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *