คลังเก็บแท็ก: นายกริช อินเต็ม

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 

กระบวนการสร้างและการใช้องค์ความรู้ของปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดแพร่

ชื่อรายงานการวิจัย :กระบวนการสร้างและการใช้องค์ความรู้ของปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดแพร่
The Process of ereation and using the body of knowledge
of Local Scholars in phrae province.
ผู้วิจัย :ผศ.นวัชโรจน์ อินเต็ม, พระมหาฐิติพงษ์ วรทสฺสี,
นายเสริมศิลป์ สุภเมธีสกุล, นายกริช อินเต็ม และ นางวลัยพรรณ อินเต็ม
หน่วยงาน :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
ปีงบประมาณ :๒๕๕๘
ทุนอุดหนุนการวิจัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 
๑. เพื่อศึกษาชีวิตและผลงานปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดแพร่
๒. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างและการใช้องค์ความรู้ของปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดแพร่ และ
๓. เพื่อวิเคราะห์ผลงานปราชญ์ท้องถิ่นกับการส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ดำเนินการโดยวิจัยเชิง
คุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผลการวิจัยปราชญ์ท้องถิ่น ในจังหวัดแพร่ จำนวน ๒๐ รูป/คน พบว่า
๑. การศึกษาชีวิตและผลงานปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดแพร่ พบว่า
๑.๑ ชีวิตของปราชญ์ท้องถิ่นส่วนใหญ่มีความใกล้ชิดพระพุทธศาสนาเคยผ่านการ
บรรพชาอุปสมบทมาทุกท่านมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสังคมวัฒนธรรมเชี่ยวชาญด้านภาษาล้านนา
และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา
๑.๒ ผลงานปราชญ์ท้องถิ่นส่วนใหญ่มีผลงานด้านวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา
แต่งคัมภีร์เรื่อง มหาวิบาก สะท้อนถึงผลกรรมทางพระพุทธศาสนาและคัมภีร์ สาราการิวิจาสูตร
สะท้อนถึงหลักธรรมทางเมตตาและคุณธรรมเป็นเหตุให้อายุยืน
๒. ด้านกระบวนการสร้างและการใช้องค์ความรู้ปราชญ์ท้องถิ่น ในจังหวัดแพร่ พบว่า
๒.๑ การสร้างองค์ความรู้ปราชญ์ท้องถิ่น แต่ละท่านมีความเชี่ยวชาญด้านภาษา
ล้านนา และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับล้านนา สร้างองค์ความรู้โดยการเขียนธรรมและการแปลอักษร
ข่อย การประดิษฐ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น การเสวนากลุ่มของปราชญ์ชาวบ้าน มีถ่ายทอดไปสู่เยาวชน
ท้องถิ่นทำเป็นหลักสูตรตำราท้องถิ่น
๒.๒ การใช้องค์ความรู้ปราชญ์ท้องถิ่นถ่ายทอดวิถีชีวิตและวัฒนธรรมล้านนาสู่สังคม
ชุมชน โดยผ่านการอบรมและการฝึกฝน ประชาชนและเยาวชน มีการประพฤติร่วมกันด้านประเพณี
วัฒนธรรมท้องถิ่น
๓. ผลการวิเคราะห์ผลงานปราชญ์ที่ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดแพร่ พบว่า
๓.๑ ธรรมเรื่องมหาวิบาก มีอิทธิพลในการทำให้สังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นเกิดความ
สงบสุขประชาชนมีความละอายต่อบาปทุจริต เกรงกลัวจะได้รับผลของการกระทำความชั่ว
สร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
๓.๒ ธรรมเรื่อง สารากาวิจาสูตร เป็นธรรมคัมภีร์ที่มุ่งเน้นเรื่องประเพณีการสืบชะตา
อันเป็นเหตุให้อายุยืน และยังทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชน ในวันประกอบพิธีสืบชะตา เกิดการอยู่
ร่วมกันอย่างสังคมพี่น้อง สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน