ชื่อรายงานการวิจัยนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผู้วิจัยพระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ,ดร.
ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
 ปีงบประมาณ๒๕๖๕
ทุนอุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน, เพื่อพัฒนานโยบายและยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน, และ เพื่อเสนอนโยบายและยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจต่อประชาคม ตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยวิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การเสนวนากลุ่ม
          ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาเศรษฐกิจชุมชน โดยภาพรวม ผู้ประกอบการในชุมชนยังประสบปัญหาในเรื่องของงบประมาณ ขาดการให้ความรู้ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการออกแบบและผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และขาดการประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้วิถีชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ส่วนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของกลุ่มประกอบอาชีพในชุมชน กำหนดทิศทาง แผนการดำเนินงาน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุดสำหรับชุมชน
          แผนนโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนา ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ ๕ ยุทธศาสตร์ ประกอบไปด้วย ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ด้านการบริหารจัดการและการบริการประชาชน ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตและสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น การกีฬาและนันทนาการ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ 
การพัฒนาด้านสาธารณสุข อนามัยและสิ่งแวดล้อม และ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาด้านระบบ สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน เมื่อมาทำการ Swot Analysis วิเคราะห์แผนนโยบายและยุทธศาสตร์จากสภาพแวดล้อมภายใน คือ จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรคของเศรษฐกิจชุมชนในตำบลกาญจนา พบว่า จุดแข็ง คือ 
มียุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการตามระยะเวลาที่ชัดเจน ชุมชนมีอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น มีการร่วมกลุ่ม 
มีปราชญ์ภูมิปัญญาที่หลากหลาย ที่สามารถพัฒนาต่อยอดของอาชีพได้ จุดอ่อน ก็คือ การกำหนดนโยบายและแผนงานยังไม่ครอบคลุมถึงเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ขาดงบประมาณในการเพิ่มศักยภาพด้านเศรษฐกิจ 
คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจรับการอบรมเพื่อสานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น 
         ส่วนประเด็นของโอกาส พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถกำหนดแผนและนโยบายใน
ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ในปีงบประมาณ 2566-2570 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อออนไลน์ และขอความร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีประสบการณ์ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และทางการตลาด โดยจัดให้มีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง
ของต้นทุนทางมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์สืบไปด้านอุปสรรค พบว่า งบประมาณในการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนมมีอย่างจำกัด ขาดความรู้ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตที่ทันสมัย และเยาวชนรุ่นใหม่ให้ความสนใจน้อยประกอบกับสมาชิกภายในชุมชนบางส่วนยังไม่ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน
         จากประเด็นที่พบในการทำ Swot Analysis วิเคราะห์แผนนโยและยุทธศาสตร์ ถึงจุดเดน จุดด้อย โอกาส และอุปสรรค ปีงบประมาณ 2561-2565 ที่ผ่านมา คณะผู้วิจัยจัดทำ นโยบายยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ผลผลิต/โครงการ เสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนา เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาและนำไปบูรณาการให้เข้ากับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ประจ าปีงบประมาณ 2567-2570 ดังนี้ 
          ด้านนโยบาย ประกอบไปด้วย ๔ นโยบาย คือ ๑. นโยบายด้านการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ๒. นโยบายด้านการบริหารจัดการ ๓. นโยบายด้านเศรษฐกิจ และ ๔. นโยบายด้านการสร้างรายได้ นโยบายทั้ง ๔ นโยบายนี้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ ๑ คือ การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการบริการประชาชน  และยุทธศาสตร์ที่ ๕ คือ การพัฒนาด้านระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน เป้าประสงค์ของนโยบาย ก็คือ 
เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐและบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับองค์กรภาครัฐและเอกชนโดยถือประโยชน์ชุมชนเป็นสำคัญ หาพื้นทีและเวทีให้กับกลุ่มอาชีพได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ชุชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน โดยจัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการและชุมชน

          


         









ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *